กีฬาโอลิมปิก หลายประเทศลงทุนมหาศาล กับการเป็นเจ้าภาพในแต่ละปี

กีฬาโอลิมปิก และประวัติเบื้องต้นให้เข้าใจง่าย

กีฬาโอลิมปิก การแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน เริ่มจัดขึ้นอย่างเป็นทางการปลายศตวรรษที่ 19 แต่อ้างอิงแนวคิดในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกของอาณาจักรกรีกยุคโบราณ ซื้อหวยออนไลน์ เว็บไหนดี ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนสนามประลองกำลังและความสามารถของนักกีฬาจากนครรัฐต่างๆ ในยุคนั้น ตัวแทนจากประเทศยุคใหม่ทั่วโลกซึ่งรวมตัวกันในนาม ‘คณะกรรมการโอลิมปิกสากล’ (IOC) จึงลงมติให้โอลิมปิกเกมส์ครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงเอเธนส์ของกรีซในปี 1896 ก่อนจะเปิดพื้นที่ให้ประเทศสมาชิกต่างๆ สล็อตออนไลน์ อันดับ 1 เสนอชื่อเมืองเพื่อท้าชิงการเป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกเกมส์ที่จัดแบบหมุนเวียนทุกๆ 4 ปีโดยเฉลี่ย

ในฐานะที่เป็นการแข่งขันกีฬานานาชาติที่มีอายุยาวนานราว 128 ปี โอลิมปิกเกมส์ได้ผ่านห้วงเวลาแห่งการทำสงครามระหว่างประเทศในโลกสมัยใหม่มาแล้วหลายครั้ง คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) จึงมักจะย้ำอยู่เสมอว่า โอลิมปิกเป็นกีฬาแห่งความสมานฉันท์ เพราะเป็นพื้นที่เปิดกว้างให้ประเทศต่างๆ ส่งตัวแทนมาสู้กันในกรอบกติกาของกีฬาสากล จึงสามารถพิสูจน์ศักยภาพของบุคลากรและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีแต่ละด้านผ่านการชิงชัยในเกมได้ โดยไม่ต้องเอาชนะคะคานกันด้วยการต่อสู้ทางอาวุธ

แต่ประเด็นสำคัญที่ทำให้หลายชาติอยากเป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกเกมส์อาจไม่ใช่แค่เรื่องการแข่งขันกีฬาเพื่อความสามัคคี เพราะ IOC พยายามโฆษณาประชาสัมพันธ์อยู่บ่อยๆ ว่าการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นผลดีต่อประเทศเจ้าภาพอย่างไรบ้าง

ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญจนหลายประเทศพยายามต่อสู้เพื่อแย่งชิงการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก คือ ความหวังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งในแง่การสร้างงาน การส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงการวางรากฐานด้านสาธารณูปโภคเพิ่มเติม เพราะการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์แต่ละครั้งจะต้องรองรับนักกีฬาและผู้เข้าชมการแข่งขันหลายแสนคน

กีฬาโอลิมปิก

ข้อมูลในเว็บไซต์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ CFR ซึ่งเผยแพร่ในปี 2021 อ้างอิงผลการศึกษาหลายชิ้นเกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า นักกีฬาที่เดินทางไปเข้าร่วมโอลิมปิกฤดูร้อนแต่ละครั้งมีจำนวนเฉลี่ยมากกว่า 10,000 คน ส่วนกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวซึ่งมีนักกีฬาเข้าร่วมน้อยกว่าก็ยังมีจำนวนมากกว่า 3,000 คน และผู้ชมที่เดินทางมาจากต่างประเทศมีจำนวนหลายแสนคน จึงช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง

แต่การศึกษาวิจัยหลายชิ้นก็เตือนว่าการจัดโอลิมปิกเกมส์ส่วนใหญ่กระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระยะสั้น เพราะช่วงก่อนจัดการแข่งขันรัฐบาลแต่ละประเทศจะอุดหนุนงบประมาณในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อรองรับผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านนักกีฬา ระบบขนส่งคมนาคม ไปจนถึงการก่อสร้างโรงแรมที่พักตามมาตรฐาน IOC ให้มีจำนวนเพียงพอกับจำนวนผู้เข้าชมที่คาดว่าจะมาเยือนในช่วงที่มีการแข่งขัน สิ่งที่ตามมาจึงเป็นการจ้างงานผู้คนจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม มีเพียงไม่กี่ธุรกิจเท่านั้นที่จะได้เม็ดเงินหมุนเวียนไปเต็มๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มธุรกิจก่อสร้าง การท่องเที่ยว และธุรกิจที่พักโรงแรม ซึ่งจะได้รับอานิสงส์เต็มๆ ช่วงก่อนและระหว่างการจัดแข่งขัน และในประเทศที่มีปัญหาเรื่องกลุ่มทุนผูกขาด ผลประโยชน์จากโอลิมปิกจะยิ่งกระจุกตัว

เมื่อพูดถึงผลประโยชน์ในระยะยาว กลับมีการตั้งคำถามในรายงานหลายชิ้น เพราะมีกรณีศึกษาในหลายชาติที่ต้องรับภาระในการใช้หนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาก่อสร้างสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการจัดโอลิมปิก เช่น กรณีของกรีซ เจ้าภาพจัดเอเธนส์โอลิมปิกเกมส์ในปี 2004 มีรายงานว่าการทุ่มงบกับโอลิมปิกเป็นหนึ่งในเหตุผลที่กรีซเผชิญกับวิกฤติหนี้ครั้งใหญ่ และมอนทรีอัลโอลิมปิกเกมส์ที่แคนาดาเป็นเจ้าภาพในปี 1976 ต้องใช้เวลากว่า 2 ทศวรรษกว่าจะจัดการเรื่องชำระหนี้สำเร็จ

หลายประเทศลงทุนมหาศาลกับการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก แต่ผลในท้ายที่สุดอาจได้ไม่คุ้มเสีย

อีกด้านของโอลิมปิกเกมส์ถูกนำเสนอผ่านสื่อมวลชนและเครือข่ายผู้ต่อต้านการจัดโอลิมปิกที่รวบรวมผลการศึกษาวิจัยในเชิงเศรษฐศาสตร์และมานุษยวิทยาเกี่ยวกับโอลิมปิกเกมส์เพื่อถ่วงดุลกับข้อมูลในแง่ดีซึ่งมักจะถูกนำเสนอโดยทั่วไป และหนึ่งในเว็บไซต์ที่โดดเด่นเรื่องนี้คือ noBoston2024 ซึ่งเป็นฐานข้อมูลของภาคประชาสังคมในสหรัฐอเมริกา ผู้รวมตัวต่อต้านการเสนอชื่อบอสตันเป็นสถานที่จัดโอลิมปิกเกมส์ปี 2024

การเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมในบอสตันเกิดขึ้นราว 10 ปีก่อน ซึ่งมีการรณรงค์อย่างจริงจังและมีการนำข้อมูลวิชาการมาโต้แย้ง ส่งผลให้สภาท้องถิ่นในบอสตันพิจารณาถอนตัวจากการขอท้าชิงการเป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกเกมส์ เหลือเพียงนครลอสแอนเจลิสที่ยังสู้ต่อจนได้เป็นเจ้าภาพในปี 2028 ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่ผู้บริหารสภาท้องถิ่นในบอสตันใช้ประกอบการตัดสินใจถอนตัวคือ ไม่อยากเอาเงินในอนาคตของเมืองมาเสี่ยงกับการลงทุนที่ไม่รู้ว่าจะคุ้มค่าหรือไม่

ในรายงานที่ noBoston2024 รวบรวมไว้ มีการศึกษาหลายชิ้นที่บ่งชี้ว่า งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและการเตรียมตัวจัดโอลิมปิกในทุกประเทศนั้นเกินงบที่ตั้งไว้ทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่ไม่อาจมองข้ามคือศักยภาพในการบริหารจัดการงบประมาณในการจัดโอลิมปิกเกมส์ของแต่ละประเทศนั้นไม่เท่าเทียมกัน

แม้จะมีบางประเทศจะได้รับการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงสั้นๆ เช่น กรณีลอนดอนโอลิมปิกเกมส์ช่วยเพิ่มการจ้างงานในอังกฤษราว 90 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเตรียมงาน และได้รับแรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจในช่วงจัดการแข่งขันจริงในปี 2012 โดยมีเงินสะพัดในธุรกิจโรงแรม การท่องเที่ยว รวมถึงรายได้จากค่าตั๋วเข้าชมการแข่งขันแต่ละแมตช์ แต่ก็ไม่ใช่ทุกประเทศที่จะได้เจอด้านบวกของโอลิมปิกเสมอไป

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top